ทุกวันนี้ข้าวถุงที่เรากินกันทุกๆ มื้อนั้น คุณค่าทางอาหารน้อยลงไปเรื่อยๆ แถมอาจจะทำให้เราเป็นโรคเพิ่มขึ้นได้ด้วยนะ เคยได้ยินนักวิชาการทางด้านสุขภาพตั้งข้อสังเกตว่า “คนไทยเราป่วยเป็นโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตมากขึ้น” ซึ่งก็จริง แต่หลายท่านยังตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกว่า “ทั้ง 2 โรคนี้ มาพร้อมกับการกำเนิดของโรงสีข้าว”
ลองคิดดูสิ เรากินข้าวกันทุกวัน วันละ 3 มื้อ กินติดต่อกันมาตั้งแต่เกิด ข้าวที่เรากินกันเป็นข้าวขาว ซึ่งเป็นข้าวที่ผ่านกระบวนการสีข้าวจนขาว ไม่ว่าจะเป็นข้าวพันธุ์อะไรก็เป็นสีขาวเหมือนกันหมด ข้าวหอมมะลิสีขาว ข้าวเส้าไห้สีขาวฯ จริงอยู่…ข้าวขาวดูดีสะอาดตา หรืออย่างน้อยก็ทำให้เรารู้สึกว่าสะอาดดี แต่จริงๆ แล้วข้าวขาวที่เรากินกันนั้นมีแต่แป้งทั้งนั้น จะมีกากใยบ้างก็เล็กน้อยเต็มที ตามความรู้เดิมๆ ที่เราเรียนตั้งแต่สมัยมัธยมก็คือ แป้ง เมื่อถูกย่อยจะกลายเป็นน้ำตาล ในกระเพาะอาหารเราก็ย่อยข้าวขาวที่มีแต่แป้งให้กลายเป็นน้ำตาล ดังนั้นร่างกายเราก็ดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด เป็นอย่างนี้ทุกวันๆ ละ 3 เวลาหลังอาหาร เมื่อมีน้ำตาลในเลือดเยอะคุณคงเดาออกว่าจะเป็นโรคอะไร ใช่แล้วครับ “เบาหวาน” และมันมักจะมาพร้อมกับความดันโลหิตสูงซะด้วย
อีกเรื่องหนึ่งดูเหมือนเราจะเลี่ยงไม่ได้คือข้าวในเมืองไทยส่วนใหญ่จะถูกปลูกในเชิงอุตสาหกรรม ดังนั้นกระบวนการปลูกก็จะใช้สารเคมีเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มสารอาหารในดินก่อนปลูก และใส่ปุ๋ยเคมีระหว่างที่ข้าวเจริญเติบโต พ่นสารเคมีป้องกันแมลงบางอย่าง แต่ถ้ามีแมลงอีกอย่างเข้ามา ก็ต้องพ่นสารเคมีกำจัดแมลงตัวนั้นอีก หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวมาแล้วเมื่อขายเข้าโรงสีข้าว โรงสีก็ไม่ได้สีข้าวซะทีเดียว ข้าวเปลือกก็จะถูกเก็บเอาไว้ในโกดังก่อน การเก็บข้าวเปลือกในโกดังนั้นก็ต้องรมสารเคมีกันมอดกันแมลงอีก ในขั้นตอนการสีข้าวให้ขาวคุณประโยชน์ของข้าวถูกขัดออกไปหมด ทั้งวิตามิน B1 B2 Bรวม โปรตีน(ข้าวก็มีโปรตีนนะจ๊ะ) และเกลือแร่อีกหลายชนิด เหลือแต่แป้งไว้ให้เรากิน…น่าเศร้าจัง แต่ยังเศร้ากว่านั้นอีก คือหลังสีข้าวให้ขาวแล้วโรงสีก็ต้องส่งไปเก็บรอการบรรจุถุงขาย ตอนเก็บข้าวขาวนี้ก็ต้องรมสารเคมีป้องกันมอดและแมลงอีกที ลองกลับไปนับในย่อหน้านี้ดูสิครับว่ามีสารเคมีเข้ามาในกระบวนการทำข้าวมากแค่ไหน ข้าวขาวที่เรากินกันทุกวันนี้คือข้าวที่ตายแล้ว ตายแล้วตายอีกหลายรอบกว่าจะมาถึงเรา อิจฉาคนสมัยก่อนที่ได้กินข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือที่ตำกินเอง ปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ไม่มีสารเคมีอย่างสิ้นเชิง เรียกว่า “ข้าวกล้องอินทรีย์ฆ ข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ คือข้าวที่ยังมีชีวิต ถ้าโปรยลงบนดินก็สามารถงอกขึ้นมาเป็นต้นข้าวได้ สังเกตดูสิครับคนรุ่นทวดเราจะเป็นคนที่อายุยืนมากๆ แต่รุ่นปู่ย่าตายายเรานี่ไม่ค่อยยืนเท่า
จะว่าไป เดี๋ยวก็ถือว่าโชคดีของเราเหมือนกันที่มีคนหันไปผลิตข้าวกล้องอินทรีย์ ตามวิถีเกษตรอินทรีย์(Organic) ไม่ใช้สารเคมีใดทั้งสิ้นมากขึ้น ทำให้คนกินข้าวอย่างเราๆ มีทางเลือกเพิ่มขึ้น…เลือกกันให้ถูกทางนะ เพื่อสุขภาพของตัวคุณเองและคนที่คุณรัก
ด้วยความปรารถนาดีจาก บ้านไร่ต้นฝัน
กระเช้าไม้สัก สัญลักษณ์ของความยั่งยืน
“ชาใบข้าว” อีกหนึ่งผลผลิตเพื่อสุขภาพจากต้นข้าว
ชาใบข้าว ถือเป็นอีกหนึ่งผลผลิตจากต้นข้าวอ่อน ที่อัดแน่นไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ทำให้ชาใบข้าวออร์แกนิก
กลายเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ โดยตัวชาใบข้าวจะผลิตจากต้นข้าวอ่อนหรือเป็นต้นกล้าของข้าวหอมมะลิ อายุ 14 วัน ทำให้ได้ชาใบข้าวที่มีความหอมเฉพาะตัว และยังอุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะสารฟินอลิกและสารฟลาโวนอยด์ ไปดูกันว่าสารทั้ง 2 ชนิดนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง?
สารฟินอลิกในชาใบข้าว คืออะไร?
สารฟินอลิก หรือ กรดฟินอลิก เป็นกลุ่มสารที่สามารถพบได้ในชาใบข้าว พืชผัก สมุนไพร และเมล็ดธัญพืชหลายชนิด สำหรับพืชสารฟินอลิกถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเจริญเติบโต แต่ความน่าสนใจของสารชนิดนี้อยู่ตรงฟินอลิกที่มีด้วยกันหลายชนิด ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นตัวช่วยขจัดปฏิกิริยาลูกโซ่ที่จะเข้าไปทำลายโมเลกุลสารในร่างกาย ทำหน้าที่กำจัดอนุมูลอิสระ
สารฟินอลิกมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างไร?
- ช่วยชะลอและป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์
สารฟลาโวนอยด์ในชาใบข้าว คืออะไร?
ฟลาโวนอยด์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกหนึ่งกลุ่มที่พบในชาใบข้าว เป็นสารที่มีโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกับฮอร์โมนเพศหญิง ส่วนใหญ่มักจะพบในผักผลไม้หลายชนิด
กลุ่มของสารฟลาโวนอยด์ แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 6 กลุ่ม
- ฟลาโวนอล (Flavonols)
- ฟลาวาน-3-ออล (Flavan-3-ols)
- ฟลาวาโนน (Flavanones)
- ฟลาโวน (Flavones)
- ไอโซฟลาโวน (Isoflavones)
- แอนโทไซยานิดิน (Anthocyanidin)
สารฟลาโวนอยด์มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างไร?
- ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
- ช่วยเสริมการประสิทธิภาพในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร
- ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด
- ช่วยต่อต้านการอักเสบ ลดอาการแพ้
- ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
- ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง
- ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท
ใครที่ชื่นชอบในการดื่มชา ชาใบข้าวเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจมากๆ เพราะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิด ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ชาใบข้าวจะมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เหมือนกลิ่นข้าวหอมมะลิ ดื่มง่าย หากใครที่ไม่ชอบดื่มชาก็สามารถลองดื่มชาใบข้าวดูได้ เพราะจะไม่เฝื่อนหรือขมเหมือนชาชนิดอื่นๆ
หากสนใจชาใบข้าว คุณภาพดี กลิ่นหอม รสชาติเข้มข้น ไร้สารเคมี ขอแนะนำชาใบข้าวจาก “บ้านไร่ต้นฝัน” เพราะผลิตจากใบข้าวออร์แกนิกพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 เก็บเกี่ยวด้วยระยะเวลที่เหมาะสม ทำให้ได้ใบข้าวที่มีสารอาหารสูง ผ่านกระบวนการผลิตที่พิถีพิถันในทุกๆ ขั้นตอน เพื่อส่งมอบคุณประโยชน์และกลิ่นหอมๆ ให้กับผู้บริโภค
แหล่งอ้างอิง
ฟินอลิก
https://research.psru.ac.th/files/res_che2553/resche_files/575_chapter2.pdf
Phenolic compounds / สารประกอบฟีนอล – Food Wiki | Food Network Solution
ฟลาโวนอยด์
ฟลาโวนอยด์ สุดยอดสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ ช่วยต้านแก่ ต้านโรค (hellokhunmor.com)
ฟลาโวนอยด์ สุดยอดสารต้านอนุมูลอิสระต้านโรค – พบแพทย์ (pobpad.com)
คลอโรฟิลล์
และคลอโรฟิลลินได้ถูกนำมาศึกษาวิจัยถึงการนำมาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการบำบัดรักษาโรคในด้านต่างๆ
ตั้งแต่ช่วงต้นคริสตทศวรรษ 1940 เช่น
การศึกษาถึงการนำคลอโรฟิลลินมาใช้ในการรักษาบาดแผล,การศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของคลอโรฟิลลินในการต่อต้านการอักเสบ,
รวมถึงการวิจัยถึงการนำคลอโรฟิลลินมาช่วยในการดับกลิ่นภายในที่เกิดจากแผลผ่าตัด
เช่น การผ่าตัดลำไส้
ซึ่งจะเห็นว่าโดยส่วนใหญ่แล้วในการศึกษาวิจัยนั่นจะเป็นการศึกษาวิจัยโดยใช้คลอโรฟิลลินเป็นหลัก
เนื่องมาจากคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ของคลอโรฟิลลิน
อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
อีกทั้งคลอโรฟิลลินยังมีความเสถียรมากว่าคลอโรฟิลล์อีกด้วย
ส่วนในปัจจุบันนี้มีการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ของคลอโรฟิลล์
และคลอโรฟิลลินในเรื่องของความสามารถในการยับยั้งสารก่อมะเร็งกำลังเป็นที่สนใจ โดยพบว่าทั้งคลอโรฟิลล์
และคลอโรฟิลลิน สามารถที่จะจับกับโมเลกุลของสารเคมีบางชนิด เช่น benzo(a)
pyrene, aflatoxin, และ โลหะหนัก (heavy metal) เป็นต้น ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น ในงานวิจัยของ Dr.
Roderick Dashwood จากมหาวิทยาลัยฮาวายได้มีการทดลองให้คลอโรฟิลลิน
แก่สัตว์ทดลองที่ได้รับสารก่อมะเร็ง aflatoxin B1 เข้าไป
ผลคือ มีการลดลงของปริมาณ DNA ที่ถูกทำลายโดย aflatoxin
B1 อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นไปได้ว่าการจับกันของคลอโรฟิลล์ หรือ
คลอโรฟิลลินกับสารก่อมะเร็งเหล่านี้อาจจะไปรบกวนการดูดซึมสารก่อมะเร็งเหล่านี้ในทางเดินอาหาร
ส่งผลให้ปริมาณสารก่อมะเร็งที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายลดลง
นอกจากนี้
ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาในกลุ่มศึกษาอาสาสมัครในประเทศจีนในเมืองที่มีอัตราการเกิดมะเร็งในตับสูงเนื่องจากได้รับสารพิษ
aflatoxin จากการบริโภคอาหารประเภทถั่วลิสง เต้าเจี้ยว
เต้าหู้ยี้ที่ปนเปื้อนเชื้อรา aflatoxin พบว่าหลังจากได้รับคลอโรฟิลลิน
ปริมาณ 100 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน
ทุกวัน เป็นเวลา 4 เดือน ปริมาณ DNA ที่เสียหายจาก
aflatoxin ลดลงถึง 55 % และจากการศึกษาของสถาบัน
Linus Pauling, มหาวิทยาลัย Oregon state โดย Professor George S. Bailey แสดงให้เห็นว่าทั้งคลอโรฟิลล์และคลอโรฟิลลิน
มีประสิทธิภาพเท่าๆ กันในการยับยั้งสารก่อมะเร็ง aflatoxin B1 เข้าสู่ร่างกาย อย่างไรก็ตามงานวิจัยเหล่านี้ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น
ยังคงต้องทำการวิจัยต่อไปเพื่อค้นหาคำตอบสำหรับหลายๆ คำถามทั้งในเรื่องของการป้องกัน
การรักษาโรคมะเร็ง
รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคผักที่มีคลอโรฟิลล์กับเสริมด้วยการรับประทานคลอโรฟิลลิน
*** ชาใบข้าวออร์แกนิค บ้านไร่ต้นฝัน
มีคลอโรฟิลล์ ***
เอกสารอ้างอิง
Breinholt
V, Schimerlik M, Dashwood R, Bailey G. 1995. Mechanisms of
chlorophyllin
anticarcinogenesis against aflatoxin B1: complex formation with the
carcinogen. Chem Res Toxicol. Vol. 8(4): 506-514.
2.
Dashwood RH, Breinholt V, Bailey GS. 1991. Chemopreventive properties of
chlorophyllin:
inhibition of aflatoxin B1 (AFB1)-DNA binding in vivo and anti-mutagenic
activity against AFB1 and two Read More
ปลูกกะหล่ำปลี กันเถอะ! เพราะกะหล่ำปลีมีคุณลักษณะเด่นหลายอย่าง คือ มีคุณค่าทางอาหารสูง รสชาติดี รับประทานได้ทั้งดิบและสุก และมีอายุการเก็บรักษาได้นาน นอกจากคุณลักษณะทางกายภาพแล้ว กะหล่ำปลีเป็นพืชผักที่อุดมไปด้วยวิตามินซี รวมทั้งยังมีสารต่อต้านการก่อตัวของโรคมะเร็งด้วย ซึ่งการรับประทานกะหล่ำปลีดิบทําให้ได้รับวิตามินซีอย่างเต็มที่ เนื่องจากวิตามินซีนั้นสูญเสียได้ง่ายจากการได้รับความร้อน
กะหล่ำปลี – Cabbage
สมัยก่อนกะหล่ำปลีปลูกได้ดีเฉพาะในฤดูหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ต่อมามีการคิดค้นพันธุ์ทนร้อน ทำให้ในปัจจุบันมีการปลูกกะหล่ำปลีได้ดีในทุกฤดูกาล
พันธุ์กะหล่ำปลีบ้านเรามีหลายพันธุ์ แยกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรก คือ กะหล่ำปลีธรรมดา เป็นกะหล่ำปลีชนิดนี้มีผู้ปลูกมาก
เนื่องจากพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ทนร้อน และมีผู้นิยมบริโภคมากเช่น กัน
มีหลายลักษณะทั้งหัวกลม หัวแป้น หัวแหลมรูปหัวใจ และมีตั้งแต่สีเขียวแก่ไปจนถึงสีเขียวอ่อน
กลุ่มที่สอง คือ กะหล่ำปลีแดง มีลักษณะหัวค่อนข้างกลม มีสีแดงทับทิม ชอบอากาศหนาวเย็นแบบที่สาม
คือ กะหล่ำปลีใบย่น มีลักษณะผิวใบหยิกย่นและเป็นคลื่น ต้องการอากาศหนาวเย็นในการปลูกเช่นกัน
หรือถ้าแบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยว พันธุ์หนักมีอายุการเก็บเกี่ยว 90-120 วัน พันธุ์กลางมีอายุ 80-90 วัน และพันธุ์เบาอายุ 60-70
วัน ซึ่งในบ้านเรานิยมปลูกพันธุ์เบามากที่สุด เนื่องจาก
เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้องการอากาศหนาวมากนัก
การปลูกกะหล่ำปลีเป็นผักสวนครัว
เพาะกล้าลงกระถางหรือลังต่างๆ ก็ได้ โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ลงในแปลงให้กระจาย
และหว่านดินผสมปุ๋ยคอกลบหน้าบางๆ เสร็จแล้วใช้ฟางข้าวหรือหญ้าคาแห้งคลุมปิดบนแปลงอีกที่หนึ่ง
รดน้ำให้ชุ่ม ในระยะเมล็ดเริ่มงอกควรรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ อย่าให้ขาดน้ำ
เพราะจะทําให้เมล็ดไม่งอก เมื่อกล้าอายุได้ 3-4 สัปดาห์
จึงย้ายไปปลูกในแปลงปลูก แปลงที่จะปลูกขุดดินให้ลึก 30 เซนติเมตร
ตากดิน 7 แดด เมื่อดินแห้งดีแล้วเก็บวัชพืชออกให้หมด
ย่อยดินให้ร่วนซุย ผสมปุ๋ยคอกคลุกเคล้าให้เข้ากัน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
เตรียมหลุมสําหรับปลูกต้นกล้าระยะห่างระหว่างต้น 40-75 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60-70 เซนติเมตร หลังจากย้ายต้นกล้าแล้วในวันรุ่งขึ้นควรทําร่มบังแดดให้ 3-4 วัน โดยใช้กาบกล้วยเสียบหรือใบไม้ต่างๆ กะหล่ำปลีเป็นพืชที่กินอาหารเปลือง จึงควรใส่ปุ๋ยเพิ่มเติม โดยดูจากการเจริญเติบโตของกะหล่ำปลี กล่าวคือ เมื่อปลูกได้ 15 วัน ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนอย่างปุ๋ยขี้ค้างคาว ซึ่งจะช่วยให้ใบงาม ปลูกได้ 30 วัน ใส่ปุ๋ยคอกต้นละ 1 กำมือ ทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยต้องกลบดิน และวันรุ่งขึ้นถึงรดน้ำ อายุของการเก็บเกี่ยวกะหล่ำปลีนั้นขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่เลือกปลูก ถ้าเป็นกะหล่ำปลี ธรรมดาที่เป็นที่นิยมปลูกกันมากในบ้านเรานั้น สามารถเก็บรับประทานได้ประมาณ 50-60 วันหลังการปลูก ถ้าเป็นพันธุ์หนักอายุการเก็บเกี่ยวนานถึง 120 วัน โดยเลือกเก็บหัวแน่นใช้มีดตัดให้มีใบนอกที่หุ้มหัวติดมาด้วย เพื่อที่จะเป็นตัวกันกระแทกไม่ให้หัวกะหล่ำปลีช้ำ
เคล็ดลับในการตัดกะหล่ำปลี เวลาจะรับประทานตัดเอาแต่เฉพาะตรงหัวกลม Read More
ปลูกกะเพรา ไว้กินเองดีกว่า! กะเพราเป็นพืชที่ใช้ใบสดใบอ่อนประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวของอาหารประเภทเนื้อ ช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม และเสริมให้อาหารมีรสชาติดี เรียกได้ว่าผัดกะเพราเป็นอาหารยอดฮิตของคนไทยทีเดียวแต่อย่ามองคุณค่าของใบกะเพราว่าเป็นเพียงแค่อาหารเท่านั้น เพราะการรับประทานกะเพรานอกจากอร่อยแบบไทยๆ แล้ว ยังช่วยลดอาการท้องอืด เนื่องจากกะเพรามีสารช่วยในการย่อยอาหาร
ใบกะเพรา – ฺBasil Leaf
ต้นกะเพราจัดเป็นไม้พุ่มเตี้ย อายุยืนนาน ความสูงพุ่มประมาณ 75 เซนติเมตร ลําต้นและใบมีขนเล็กน้อย ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด และปลูกได้ในทุกฤดูกาล แต่ควรเริ่มปลูก ในฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นกะเพรางอกงามได้ดีที่สุด ชอบดินร่วนซุย เช่นเดียวกับพืชผัก ชนิดอื่นๆ พันธุ์กะเพราที่นิยมปลูกในบ้านเรามี 2 พันธุ์ คือ กะเพราแดง และ กะเพราขาว ซึ่งมีข้อแตกต่างกันตรงสีของลําต้นและก้านใบกะเพราแดงนั้นสีของลําต้นและก้านใบจะเป็น สีม่วงแดงคล้ายกับใบโหระพา ส่วนกะเพราขาวนั้นสีของลําต้นและก้านใบจะเป็นสีเขียวอ่อน คล้ายกับแมงลัก
การปลูกกะเพราเป็นการค้า นิยมใช้การหว่านเมล็ดมากกว่าการปลูกด้วยกิ่งชํา แต่ในกรณีที่ปลูกเป็นพืชผักสวนครัว ก็ปลูกง่าย ดูแลง่าย เริ่มด้วยการใช้กิ่งชําน่าจะดีกว่า ขั้นตอนการปลูกเริ่มจากการเตรียมดิน โดยขุดดินลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุม คลุกให้เข้ากันกับดิน ย่อยดินให้ละเอียดและร่วนซุย การปลูกควรกะระยะให้ต้นห่างกันประมาณ 1 ฟุต ถ้าต้องการให้ต้นกะเพราออกใบงดงาม ก็อาจบํารุงต้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์และมีการกําจัดวัชพืชเป็นครั้งคราว เพื่อไม่ให้แย่งอาหารต้นกะเพรา นอกจากนี้เมื่อต้นกะเพราโตแล้วก็ควรมีการตัดแต่งกิ่งใหม่ เพื่อให้ต้นกะเพราแตกกิ่งก้านออกมาใหม่ เรียกว่ายิ่งตัดยิ่งออกใบใหม่ให้เรากิน กะเพราที่ปลูกนั้นสามารถเก็บรับประทานได้ภายใน 70 วันหลังจากการปลูกและในการเก็บไม่ควรใช้วิธีถอนต้นกะเพรา ควรใช้มีดคมๆ ตัดกิ่งก้านที่ต้องการออกมา ซึ่งวิธีการเก็บผลผลิตแบบนี้ทําให้มีกะเพราเก็บไว้กินได้นานๆ
ตะปูแห่งความโกรธ
ออร์แกนิคในหัวใจ #2
เรื่องสั้นเกี่ยวกับ ความโกรธ ที่สร้างความสั่นสะเทือนในหัวใจให้คนอ่านได้อย่างสูง อ่านแล้วไม่มีวันลืม เก็บไว้สอนลูกหลานได้ ในภาวะปัจจุบันที่คนเรามีความอดทนต่ำ หัวร้อนเร็วจัด ความเห็นอกเห็นใจน้อยลงกว่าเมื่อก่อนมาก
——————————————————————————————–
เด็กคนหนึ่งกลับบ้านมาพร้อมรอยฟกช้ำดำเขียวที่ใบหน้าและสีหน้าแสดงอารมณ์ไม่ค่อยจะดีนัก พ่อของเขาก็พอจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูกของเขา เพราะรู้จักนิสัยลูกของเขาดี ที่หงุดหงิดง่าย โดยเฉพาะการพูดจาต่อว่า ทำร้ายจิตใจผู้อื่นเป็นประจำ ทางโรงเรียนก็เชิญไปผู้ปกครองไปพบหลายครั้ง
วันนี้พ่อของเขาไม่ทำโทษ ไม่ต่อว่าเด็กน้อยสักคำ แต่ให้ตะปูกับเขา 1 ถุง พร้อมบอกให้เขาสัญญาว่า ”ทุกครั้งที่เขารู้สึกโมโหหรือโกรธใครสักคน หรือพูดจากทำร้ายใคร 1 ครั้ง ต้องตอกตะปู 1 ตัวเข้าไปกับรั้วไม้ที่หลังบ้าน โกรธหรือพูดทำร้ายใคร 1 ครั้ง ให้ตอก 1 ตัว ถ้าโกรธหรือพูดทำร้ายใคร 10 ครั้ง ให้ตอกตะปู 10 ตัว”
วันแรกผ่านไป เด็กน้อยคนนั้นตอกตะปูเขาไปที่รั้วหลังบ้านถึง 37 ตัว เขาเหนื่อยและเจ็บมือมากแต่ละวันที่ผ่านไป เด็กน้อยก็ค่อย ๆ ลดจำนวนการตอกตะปูน้อยลงเรื่อย ๆ น้อยลง และน้อยลง เพราะเขารู้สึกว่า การรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองให้สงบง่ายกว่าการตอกตะปูตั้งเยอะ
และแล้ว…หลังจากที่เขาสามารถควบคุมตนเองได้ดีขึ้น ใจเย็นมากขึ้น เขาจึงเข้าไปพบกับพ่อ และบอกกับพ่อของเขาว่า เขาสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้แล้ว ไม่หัวร้อน โกรธ มุทะลุและพูดจาทำร้ายคนอื่นๆ เหมือนแต่ก่อนแล้ว พ่อยิ้มและบอกกับลูกชายว่า ”ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ลูกต้องพิสูจน์ให้พ่อดู โดยทุกๆ ครั้งที่ลูกสามารถควบคุมอารมณ์ฉุนเฉียวของตนเองได้ ให้ถอนตะปูออกจากรั้วหลังบ้าน 1 ตัว ทุกครั้ง”
ในวันต่อๆ มา วันแล้ววันเล่า เด็กน้อยก็ค่อยๆ ถอนตะปูออก ทีละตัว จาก 1 เป็น 2 …จาก 2 เป็น 3 จนในที่สุดตะปูทั้งหมดก็ถูกถอนออก…จนหมด เด็กน้อยดีใจมากรีบวิ่งไปบอกกับพ่อว่า“ผมทำได้แล้วครับ ในที่สุดผมก็ทำสำเร็จ” พ่อไม่ได้พูดอะไร แต่จูงมือลูกของเขาออกไปที่รั้วหลังบ้านและบอกกับลูกว่า “ลูกทำได้ดีมาก แต่ลูกลองมองที่รั้วเหล่านั้นสิ ลูกเห็นหรือเปล่าว่า รั้วนั้นมันไม่เหมือนเดิม ไม่เหมือน..กับที่มันเคยเป็น”…..“จำไว้นะลูก เมื่อใดก็ตามที่ลูกโกรธ โมโห พูดจาทำร้ายคนอื่น หรือทำอะไรไม่ดีๆ ลงไป โดยใช้อารมณ์ สิ่งนั้นมันจะเกิดเป็นรอยแผล เหมือนกับการเอาตะปูตอกเข้าไปในใจของคนๆ นั้น รวมทั้งในใจของลูกเอง ต่อให้ลูกพูด “ขอโทษ” สักกี่หน ก็ไม่อาจลบความเจ็บปวด ไม่อาจลบรอยแผลที่เกิดขึ้นกับเขาคนนั้นได้ มันก็เหมือนกับตะปูที่ลูกตอกไปที่รั้วนั้น แม้ลูกจะถอนมันออมมาแล้ว มันจะยังคงมีร่องรอยให้คงอยู่ไปตลอดกาล”
…………………………………………………
ทุกวันนี้เด็กๆ มักพูดจาไม่ดีกับพ่อแม่ Read More