แด่ ฟีเดล คาสโตร
แด่ประเทศคิวบา ประเทศเกษตรอินทรีย์ 100%
ช่วงที่อเมริกาออกล่าอาณานิคม ทั้งทางเศรษฐกิจ และสร้างฐานทัพนอกประเทศอเมริกานั้น ฟีเดล คาสโตร คือผู้นำคนหนึ่งกล้าท้าทายอำนาจอเมริกา นอกจากฝั่งรัสเซีย จีน เกาหลีเหนือ จริงแล้วคล้ายๆ ซัดดัม แต่คิวบาอยู่ใกล้อเมริกามากกว่า เลยไม่กล้าทำอะไรเหมือนซัดดัมและประเทศอิรัก
ถึงถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากอเมริกาและประเทศตะวันตกที่เรียกตัวเองว่าประชาธิบไตย หรือประเทศเสรี แต่คิวบาด้วยการนำของ ฟีเดล คาสโตร ก็สามารถยืนบนลำแข็งตัวเองได้ และพัฒนาตัวเองจนเป็นประเทศที่มีมาตรฐานทางการแพทย์มากเป็นอันดับหัวหัวของโลก ด้านการศึกษาคนคิวบาก็มีการศึกษาจนมีความรู้สูงอันดับต้นๆ ของโลก
ภายใต้ความกดดัน ความเร้นแค้นจากการถูกคว่ำบาตร จนประเทศที่มีความขาดแคลนเกือบทุกด้าน แต่มหาวิทยาลัยในคิวบานั้นใหญ่โตมาก คาสโตรให้ความสำคัญกับการสร้างการศึกษาและผลิตองค์ความรู้ คาสโตรสนับ
สนุนการค้นคว้าเทคโนโลยีที่จะปรับเปลี่ยนการผลิต ทำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เกษตรอินทรีย์ ฯลฯ พยายามสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อให้ประเทศอยู่ได้ นักวิชาการความกระตือรือร้นในการทำงานวิชาการอย่างสูง ไม่ได้ทำเพราะเป็นนโยบายสั่งมา แต่ทำเพราะเป็นหัวจิตหัวใจ เป็นอุดมการณ์ เป็นความยิ่งใหญ่ที่ช่วยกันสร้างชาติ”
จากการเลือกที่จะดื้อแพ่งต่ออเมริกา คิวบากัดฟันสู้และค่อยๆ ฟื้นขึ้นจากวิกฤตด้วยขาของตัวเอง และผลพวงจากการไม่ยอมแพ้ในครั้งนั้น ทำให้ปัจจุบันคิวบาเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีระบบเกษตรทั้งหมดเป็นเกษตรอินทรีย์ ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง และยังมีส่วนเหลือจากการบริโภคให้กับการส่งออก ถือเป็นข้อดีของการถูกคว่ำบาตรเพราะไม่ต้องถูดยัดเยียดสารเคมีเข้าประเทศเหมือนประเทศไทยเรา ที่มีนักการเมืองกับข้าราชการบางคนทำตัวเป็นท่อส่งสารเคมีเข้าประเทศจนเกษตรไทยติดการใช้เคมีเกษตรง่อมแงมเลิกไม่ได้
อิจฉาคนคิวบาที่ได้กินอาหารออร์แกนิคทุกวัน ได้ใช้สินค้าออร์แกนิคจนชิน
นี่แหละข้อดีของการไม่ยอมอ่อนข้อต่ออเมริกา ภายใต้ผู้นำชื่อ ฟีเดล คาสโตร