ระบบชุมชนรับรองออร์แกนิค PGS การรับรองแบบมีส่วนร่วม
participatory guarantee system (PGS)
ความเป็นมาของ พีจีเอส
ระบบ “ชุมชนรับรอง” นี้เป็นการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รูปแบบหนึ่ง ที่เป็นการรับรองเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของกลุ่มโดยองค์กรผู้ผลิตเอง (first party certification) แต่ในบางกรณี ก็อาจเป็นการดำเนินการของผู้ซื้อผลผลิตจากเกษตรกร (second party certification) แต่ไม่ใช่เป็นการตรวจรับรองโดยหน่วยงานอิสระ (third party) โดยระบบชุมชนรับรองนี้จะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในระบบการตรวจรับรองมากกว่าระบบการตรวจรับรองแบบอื่น
ระบบชุมชนรับรองนี้ริเริ่มขึ้นโดยสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements) กับหน่วยงานระหว่างประเทศและองค์กรท้องถิ่นอีกหลายแห่ง ซึ่งเห็นร่วมว่า ระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานอิสระจากภายนอกนั้นไม่ได้เหมาะกับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เพื่อขายในท้องถิ่น เพราะระบบการตรวจสอบรับรองโดยองค์กรอิสระมีระเบียบข้อกำหนดที่ค่อนข้างเข้มงวดที่สลับซับซ้อนและมากเกินความจำเป็นสำหรับการทำการตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในท้องถิ่น (ความซับซ้อนของระเบียบข้อกำหนดนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ต้องมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในการขึ้นทะเบียนเพื่อให้ได้รับการยอมรับระบบการตรวจรับรอง ส่งผลให้หน่วยตรวจรับรองต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจรับรองที่สูงจากผู้ผลิตและผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์)
นอกจากนี้ ด้วยระเบียบที่เข้มงวด ทำให้การตรวจรับรองของหน่วยงานอิสระไม่สามารถเปิดให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในระบบการตรวจรับรองได้มากนัก รวมทั้งไม่เปิดโอกาสให้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในการตรวจรับรองที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อยทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้วก็เช่นกัน
ทาง IFOAM และหน่วยงานหลายแห่งจึงได้สนับสนุนให้มีการประชุมเรื่องนี้ขึ้นเมื่อกลางเดือนเมษายน 2547 ที่ประเทศบราซิล โดยวิฑูรย์ ปัญญากุล จากกรีนเนท เป็นตัวแทนคนเดียวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการประชุมดังกล่าว หลังการประชุมในครั้งนั้น ทาง IFOAM ได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบที่สมาชิกกลุ่มผู้ผลิต/ชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกันเอง ซึ่งเรียกว่า Participatory Guarantee System (PGS) หรือถ้าจะเรียกแบบไทยๆ ก็คือ “ชุมชนรับรอง” เข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของ IFOAM ก็ได้ (คลิ๊ก)
นิยามความหมายของ PGS
IFOAM ให้คำนิยามสั้นๆ ว่า พีจีเอส คือ ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น ที่ให้การรับรองผู้ผลิตโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อถือ เครือข่ายทางสังคม และการแลกเปลี่ยนความรู้ [Participatory Guarantee Systems (PGS) are locally focused quality assurance systems. They certify producers based on active participation of stakeholders and are built on a foundation of trust, social networks and knowledge exchange.]
องค์ประกอบและรูปแบบ
Read More
แด่ ฟีเดล คาสโตร
แด่ประเทศคิวบา ประเทศเกษตรอินทรีย์ 100%
ช่วงที่อเมริกาออกล่าอาณานิคม ทั้งทางเศรษฐกิจ และสร้างฐานทัพนอกประเทศอเมริกานั้น ฟีเดล คาสโตร คือผู้นำคนหนึ่งกล้าท้าทายอำนาจอเมริกา นอกจากฝั่งรัสเซีย จีน เกาหลีเหนือ จริงแล้วคล้ายๆ ซัดดัม แต่คิวบาอยู่ใกล้อเมริกามากกว่า เลยไม่กล้าทำอะไรเหมือนซัดดัมและประเทศอิรัก
ถึงถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากอเมริกาและประเทศตะวันตกที่เรียกตัวเองว่าประชาธิบไตย หรือประเทศเสรี แต่คิวบาด้วยการนำของ ฟีเดล คาสโตร ก็สามารถยืนบนลำแข็งตัวเองได้ และพัฒนาตัวเองจนเป็นประเทศที่มีมาตรฐานทางการแพทย์มากเป็นอันดับหัวหัวของโลก ด้านการศึกษาคนคิวบาก็มีการศึกษาจนมีความรู้สูงอันดับต้นๆ ของโลก
ภายใต้ความกดดัน ความเร้นแค้นจากการถูกคว่ำบาตร จนประเทศที่มีความขาดแคลนเกือบทุกด้าน แต่มหาวิทยาลัยในคิวบานั้นใหญ่โตมาก คาสโตรให้ความสำคัญกับการสร้างการศึกษาและผลิตองค์ความรู้ คาสโตรสนับ
สนุนการค้นคว้าเทคโนโลยีที่จะปรับเปลี่ยนการผลิต ทำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เกษตรอินทรีย์ ฯลฯ พยายามสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อให้ประเทศอยู่ได้ นักวิชาการความกระตือรือร้นในการทำงานวิชาการอย่างสูง ไม่ได้ทำเพราะเป็นนโยบายสั่งมา แต่ทำเพราะเป็นหัวจิตหัวใจ เป็นอุดมการณ์ เป็นความยิ่งใหญ่ที่ช่วยกันสร้างชาติ”
จากการเลือกที่จะดื้อแพ่งต่ออเมริกา คิวบากัดฟันสู้และค่อยๆ ฟื้นขึ้นจากวิกฤตด้วยขาของตัวเอง และผลพวงจากการไม่ยอมแพ้ในครั้งนั้น ทำให้ปัจจุบันคิวบาเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีระบบเกษตรทั้งหมดเป็นเกษตรอินทรีย์ ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง และยังมีส่วนเหลือจากการบริโภคให้กับการส่งออก ถือเป็นข้อดีของการถูกคว่ำบาตรเพราะไม่ต้องถูดยัดเยียดสารเคมีเข้าประเทศเหมือนประเทศไทยเรา ที่มีนักการเมืองกับข้าราชการบางคนทำตัวเป็นท่อส่งสารเคมีเข้าประเทศจนเกษตรไทยติดการใช้เคมีเกษตรง่อมแงมเลิกไม่ได้
อิจฉาคนคิวบาที่ได้กินอาหารออร์แกนิคทุกวัน ได้ใช้สินค้าออร์แกนิคจนชิน
นี่แหละข้อดีของการไม่ยอมอ่อนข้อต่ออเมริกา ภายใต้ผู้นำชื่อ ฟีเดล คาสโตร