คลอโรฟิลล์
และคลอโรฟิลลินได้ถูกนำมาศึกษาวิจัยถึงการนำมาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการบำบัดรักษาโรคในด้านต่างๆ
ตั้งแต่ช่วงต้นคริสตทศวรรษ 1940 เช่น
การศึกษาถึงการนำคลอโรฟิลลินมาใช้ในการรักษาบาดแผล,การศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของคลอโรฟิลลินในการต่อต้านการอักเสบ,
รวมถึงการวิจัยถึงการนำคลอโรฟิลลินมาช่วยในการดับกลิ่นภายในที่เกิดจากแผลผ่าตัด
เช่น การผ่าตัดลำไส้
ซึ่งจะเห็นว่าโดยส่วนใหญ่แล้วในการศึกษาวิจัยนั่นจะเป็นการศึกษาวิจัยโดยใช้คลอโรฟิลลินเป็นหลัก
เนื่องมาจากคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ของคลอโรฟิลลิน
อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
อีกทั้งคลอโรฟิลลินยังมีความเสถียรมากว่าคลอโรฟิลล์อีกด้วย
ส่วนในปัจจุบันนี้มีการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ของคลอโรฟิลล์
และคลอโรฟิลลินในเรื่องของความสามารถในการยับยั้งสารก่อมะเร็งกำลังเป็นที่สนใจ โดยพบว่าทั้งคลอโรฟิลล์
และคลอโรฟิลลิน สามารถที่จะจับกับโมเลกุลของสารเคมีบางชนิด เช่น benzo(a)
pyrene, aflatoxin, และ โลหะหนัก (heavy metal) เป็นต้น ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น ในงานวิจัยของ Dr.
Roderick Dashwood จากมหาวิทยาลัยฮาวายได้มีการทดลองให้คลอโรฟิลลิน
แก่สัตว์ทดลองที่ได้รับสารก่อมะเร็ง aflatoxin B1 เข้าไป
ผลคือ มีการลดลงของปริมาณ DNA ที่ถูกทำลายโดย aflatoxin
B1 อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นไปได้ว่าการจับกันของคลอโรฟิลล์ หรือ
คลอโรฟิลลินกับสารก่อมะเร็งเหล่านี้อาจจะไปรบกวนการดูดซึมสารก่อมะเร็งเหล่านี้ในทางเดินอาหาร
ส่งผลให้ปริมาณสารก่อมะเร็งที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายลดลง
นอกจากนี้
ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาในกลุ่มศึกษาอาสาสมัครในประเทศจีนในเมืองที่มีอัตราการเกิดมะเร็งในตับสูงเนื่องจากได้รับสารพิษ
aflatoxin จากการบริโภคอาหารประเภทถั่วลิสง เต้าเจี้ยว
เต้าหู้ยี้ที่ปนเปื้อนเชื้อรา aflatoxin พบว่าหลังจากได้รับคลอโรฟิลลิน
ปริมาณ 100 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน
ทุกวัน เป็นเวลา 4 เดือน ปริมาณ DNA ที่เสียหายจาก
aflatoxin ลดลงถึง 55 % และจากการศึกษาของสถาบัน
Linus Pauling, มหาวิทยาลัย Oregon state โดย Professor George S. Bailey แสดงให้เห็นว่าทั้งคลอโรฟิลล์และคลอโรฟิลลิน
มีประสิทธิภาพเท่าๆ กันในการยับยั้งสารก่อมะเร็ง aflatoxin B1 เข้าสู่ร่างกาย อย่างไรก็ตามงานวิจัยเหล่านี้ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น
ยังคงต้องทำการวิจัยต่อไปเพื่อค้นหาคำตอบสำหรับหลายๆ คำถามทั้งในเรื่องของการป้องกัน
การรักษาโรคมะเร็ง
รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคผักที่มีคลอโรฟิลล์กับเสริมด้วยการรับประทานคลอโรฟิลลิน
*** ชาใบข้าวออร์แกนิค บ้านไร่ต้นฝัน
มีคลอโรฟิลล์ ***
เอกสารอ้างอิง
Breinholt
V, Schimerlik M, Dashwood R, Bailey G. 1995. Mechanisms of
chlorophyllin
anticarcinogenesis against aflatoxin B1: complex formation with the
carcinogen. Chem Res Toxicol. Vol. 8(4): 506-514.
2.
Dashwood RH, Breinholt V, Bailey GS. 1991. Chemopreventive properties of
chlorophyllin:
inhibition of aflatoxin B1 (AFB1)-DNA binding in vivo and anti-mutagenic
activity against AFB1 and two Read More