ระบบชุมชนรับรองออร์แกนิค PGS การรับรองแบบมีส่วนร่วม
participatory guarantee system (PGS)
ความเป็นมาของ พีจีเอส
ระบบ “ชุมชนรับรอง” นี้เป็นการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รูปแบบหนึ่ง ที่เป็นการรับรองเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของกลุ่มโดยองค์กรผู้ผลิตเอง (first party certification) แต่ในบางกรณี ก็อาจเป็นการดำเนินการของผู้ซื้อผลผลิตจากเกษตรกร (second party certification) แต่ไม่ใช่เป็นการตรวจรับรองโดยหน่วยงานอิสระ (third party) โดยระบบชุมชนรับรองนี้จะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในระบบการตรวจรับรองมากกว่าระบบการตรวจรับรองแบบอื่น
ระบบชุมชนรับรองนี้ริเริ่มขึ้นโดยสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements) กับหน่วยงานระหว่างประเทศและองค์กรท้องถิ่นอีกหลายแห่ง ซึ่งเห็นร่วมว่า ระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานอิสระจากภายนอกนั้นไม่ได้เหมาะกับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เพื่อขายในท้องถิ่น เพราะระบบการตรวจสอบรับรองโดยองค์กรอิสระมีระเบียบข้อกำหนดที่ค่อนข้างเข้มงวดที่สลับซับซ้อนและมากเกินความจำเป็นสำหรับการทำการตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในท้องถิ่น (ความซับซ้อนของระเบียบข้อกำหนดนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ต้องมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในการขึ้นทะเบียนเพื่อให้ได้รับการยอมรับระบบการตรวจรับรอง ส่งผลให้หน่วยตรวจรับรองต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจรับรองที่สูงจากผู้ผลิตและผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์)
นอกจากนี้ ด้วยระเบียบที่เข้มงวด ทำให้การตรวจรับรองของหน่วยงานอิสระไม่สามารถเปิดให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในระบบการตรวจรับรองได้มากนัก รวมทั้งไม่เปิดโอกาสให้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในการตรวจรับรองที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อยทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้วก็เช่นกัน
ทาง IFOAM และหน่วยงานหลายแห่งจึงได้สนับสนุนให้มีการประชุมเรื่องนี้ขึ้นเมื่อกลางเดือนเมษายน 2547 ที่ประเทศบราซิล โดยวิฑูรย์ ปัญญากุล จากกรีนเนท เป็นตัวแทนคนเดียวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการประชุมดังกล่าว หลังการประชุมในครั้งนั้น ทาง IFOAM ได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบที่สมาชิกกลุ่มผู้ผลิต/ชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกันเอง ซึ่งเรียกว่า Participatory Guarantee System (PGS) หรือถ้าจะเรียกแบบไทยๆ ก็คือ “ชุมชนรับรอง” เข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของ IFOAM ก็ได้ (คลิ๊ก)
นิยามความหมายของ PGS
IFOAM ให้คำนิยามสั้นๆ ว่า พีจีเอส คือ ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น ที่ให้การรับรองผู้ผลิตโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อถือ เครือข่ายทางสังคม และการแลกเปลี่ยนความรู้ [Participatory Guarantee Systems (PGS) are locally focused quality assurance systems. They certify producers based on active participation of stakeholders and are built on a foundation of trust, social networks and knowledge exchange.]
องค์ประกอบและรูปแบบ
Read More
มีข้อเสนอแนะอยู่บางประเด็นที่น่าสนใจสำหรับจังหวัดแพร่ของเรา
ถ้าเมืองแพร่ของเรามีฮับ (HUB) หรือศูนย์กลางการแปรรูปอาหารไว้ที่ศูนย์กลางของจังหวัดก็ดีนะครับ เช่น
1. ในจังหวัดเราปลูกข้าวกันเยอะ หากมีเครื่องสีข้าวขาวหรือข้าวกล้องที่ที่ทันสมัยสามารถนำข้าวไปสีแล้วออกมาเป็นเมล็ดที่สวยงาม สะอาดคุณภาพดี เทียบเท่ากับโรงงานผลิตข้าวของเอกชน ที่สำคัญมีเครื่องยิงคัดเมล็ดสีข้าวปนด้วยเลเซอร์ ที่สามารถคัดข้าวปนสีแดงออกจากข้าวหอมมะลิได้ ก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าข้าวได้อย่างมาก
2. ในศูนย์เดียวกันนี้ก็มีส่วนแปรรูปผลไม้ ที่เป็นเทคโนโลยีแปรรูปที่ทันสมัยสะอาดได้มาตรฐาน GAP ISO ที่เป็นแบบกลางกลาง สามารถใช้กับผลไม้ได้หลากหลายประเภท เช่นเครื่องฟรีดดราย (Freeze Dry) ที่สามารถแปรรูปผลไม้ได้เกือบทุกชนิด มีเครื่องอบผลไม้ที่สามารถอบแห้งผลไม้และสมุนไพรได้หลากหลายชนิด
3. ในศูนย์เดียวกันนี้ มีส่วนงาน Packing ที่สามารถ
แพ็คอาหารที่นำมาแปรรูปได้แบบสุญญากาศ หรือแบบสุญญากาศใส่ไนโตรเจน หรือแบบธรรมดา ในถุงบรรจุที่มีรูปแบบหลายรูปอยู่แล้วในตลาดบรรจุภัณฑ์ แล้วเกษตรกรนำไปติดฉลากในแบรนด์ของตัวเองได้
4. จะทำในรูปแบบบริษัทประชารัฐ โดยมีหน่วยงานราชการ เอกชน ประชาคม หรือประชาชน ถือหุ้นก็ได้ หรือตะเป็นรูปแบบอื่นที่จะยั่งยืนและสามารถพัฒนาต่อไปได้
5. โฆษณา ประชาสัมพันธ์ศูนย์แปรรูปนี้ เทคโนโลยีที่เรามี บริการต่างๆ ที่เกษตรสามารถเข้าถึงได้ กระจายออกไปในวงกว้างทั่วจังหวัดแพร่
เมื่อเกษตรกร ไม่ว่าจะปลูกพืชอะไร รู้ข้อมูลเหล่านี้
ถ้าอยากแปรรูปเป็นสินค้าก็จะมั่นใจขึ้น ว่าจะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการแปรรูปได้ง่าย ไม่แพง และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรของตัวเอง และเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ของตัวเองได้ไม่ต้องขายเป็นพืชผักผลไม้สดอย่างเดียวต่อไป
ฝากข้อเสนอแนะนี้ด้วยนะครับและผมจะคอยติดตามผลงานต่อไป
ขอบคุณครับ
ไพวัลย์ พิพัฒธาดา
ผู้ให้ ความคิดเห็น
แด่ ฟีเดล คาสโตร
แด่ประเทศคิวบา ประเทศเกษตรอินทรีย์ 100%
ช่วงที่อเมริกาออกล่าอาณานิคม ทั้งทางเศรษฐกิจ และสร้างฐานทัพนอกประเทศอเมริกานั้น ฟีเดล คาสโตร คือผู้นำคนหนึ่งกล้าท้าทายอำนาจอเมริกา นอกจากฝั่งรัสเซีย จีน เกาหลีเหนือ จริงแล้วคล้ายๆ ซัดดัม แต่คิวบาอยู่ใกล้อเมริกามากกว่า เลยไม่กล้าทำอะไรเหมือนซัดดัมและประเทศอิรัก
ถึงถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากอเมริกาและประเทศตะวันตกที่เรียกตัวเองว่าประชาธิบไตย หรือประเทศเสรี แต่คิวบาด้วยการนำของ ฟีเดล คาสโตร ก็สามารถยืนบนลำแข็งตัวเองได้ และพัฒนาตัวเองจนเป็นประเทศที่มีมาตรฐานทางการแพทย์มากเป็นอันดับหัวหัวของโลก ด้านการศึกษาคนคิวบาก็มีการศึกษาจนมีความรู้สูงอันดับต้นๆ ของโลก
ภายใต้ความกดดัน ความเร้นแค้นจากการถูกคว่ำบาตร จนประเทศที่มีความขาดแคลนเกือบทุกด้าน แต่มหาวิทยาลัยในคิวบานั้นใหญ่โตมาก คาสโตรให้ความสำคัญกับการสร้างการศึกษาและผลิตองค์ความรู้ คาสโตรสนับ
สนุนการค้นคว้าเทคโนโลยีที่จะปรับเปลี่ยนการผลิต ทำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เกษตรอินทรีย์ ฯลฯ พยายามสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อให้ประเทศอยู่ได้ นักวิชาการความกระตือรือร้นในการทำงานวิชาการอย่างสูง ไม่ได้ทำเพราะเป็นนโยบายสั่งมา แต่ทำเพราะเป็นหัวจิตหัวใจ เป็นอุดมการณ์ เป็นความยิ่งใหญ่ที่ช่วยกันสร้างชาติ”
จากการเลือกที่จะดื้อแพ่งต่ออเมริกา คิวบากัดฟันสู้และค่อยๆ ฟื้นขึ้นจากวิกฤตด้วยขาของตัวเอง และผลพวงจากการไม่ยอมแพ้ในครั้งนั้น ทำให้ปัจจุบันคิวบาเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีระบบเกษตรทั้งหมดเป็นเกษตรอินทรีย์ ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง และยังมีส่วนเหลือจากการบริโภคให้กับการส่งออก ถือเป็นข้อดีของการถูกคว่ำบาตรเพราะไม่ต้องถูดยัดเยียดสารเคมีเข้าประเทศเหมือนประเทศไทยเรา ที่มีนักการเมืองกับข้าราชการบางคนทำตัวเป็นท่อส่งสารเคมีเข้าประเทศจนเกษตรไทยติดการใช้เคมีเกษตรง่อมแงมเลิกไม่ได้
อิจฉาคนคิวบาที่ได้กินอาหารออร์แกนิคทุกวัน ได้ใช้สินค้าออร์แกนิคจนชิน
นี่แหละข้อดีของการไม่ยอมอ่อนข้อต่ออเมริกา ภายใต้ผู้นำชื่อ ฟีเดล คาสโตร
มองโรคในแง่ดี
ออร์แกนิคในหัวใจ #1
ลองกลับไปอ่านชื่อเรื่องอีกทีครับ! คุณไม่อ่านผิดและผมก็ไม่ได้เขียนผิดหรอกครับ ผมแค่อยากให้พวกเรามองด้านดีของ
เรื่องร้ายๆ กันสักหน่อย เพราะทุกๆ เรื่องมีด้านที่ดีเสมอ ก่อนที่ผมจะมองโรคในแง่ดี ผมอยากเล่าด้านร้ายให้พวกเราได้
ตระหนักกันก่อน
ผมผ่านเรื่องร้ายที่สุดเรื่องหนึ่งในชีวิตของผมมาแล้ว… “ไตวาย” ภัยเงียบที่มาโดยผมไม่รู้ตัว (อย่าเพิ่งมองในแง่ร้ายนักนะครับ) ผมเป็นคนที่แข็งแรงมาก ปีหนึ่งปวดหัวตัวร้อนครั้งสองครั้งไม่เกินนั้น มีอยู่วันหนึ่งเมื่อ 10 ปีที่แล้วผมเกิดอาเจียนไม่หยุดตั้งแต่เช้าจนเย็น เมื่อสรุปได้เองว่าอาการที่เกิดไม่ใช่อาหารเป็นพิษหรือโรคอื่นที่เคยเป็นแน่นอน ผมก็ตรงดิ่งไปหาหมอ หลังจากคุณหมอตรวจทั้งโดยการสังเกตอาการ สอบถามประวัติและเจาะเลือดตรวจ คุณหมอบอกผมว่า
หมอ: “อาการของคุณคือ ไตวายเรื้อรัง”
ผมอึ้งไปพักใหญ่และถามคุณหมอว่า
ผม: “แล้วไตเอ๊กซ์และไตแซดเป็นยังงัยครับหมอ”…(บรรทัดนี้ล้อเล่นครับ ขำ ขำ)
ผมถามจริง: “ไตวาย มันเป็นยังงัยครับหมอ”
หมอ: “ไตวายมี 2 ประเภท มีไตวายเฉียบพลัน กับไตวายเรื้อรัง ของคุณเป็นไตวายเรื้อรังระดับ 4 ครับ”
ผม: “แล้วมันมีกี่ระดับครับหมอ”
หมอ: “4 ระดับ”…
ผม: อึ้ง!
หมอ: “สำหรับคุณยังไม่ต้องฟอกไต แต่ต้องควบคุมเรื่องอาหารอย่างเคร่งครัด”
ผม: “ถ้างั้นผมจะกินอย่างชีวจิต ผมก็คงอยู่โดยไม่ต้องฟอกไตได้อีกนานใช่ไหมครับ”
หมอ: “อืม…ม…”(ไม่ตอบ) …”ขั้นต่อไปหมอขอเจาะไตของคุณเพื่อดูเนื้อไตอย่างละเอียดหน่อยนะครับ แล้วคุณมีไวรัสตับอักเสบบี คงต้องเจาะตับดูภาวะเสี่ยงอีกด้วยครับ”
ผม: “เหรอ…ครับ”
หลังจากกินแบบชีวจิตอย่างเคร่งครัดเพื่อนหลายคนเป็นพยานได้ ผมก็ทนได้แค่ 3 เดือน ผมต้องเข้ากระบวนการฟอกไต นอนฟอกครั้งละ 4 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เป็นเวลา 8 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่ครอบครัวผมร่วมวางแผนเปลี่ยนไตให้ผม โดยมีน้องชายและน้องสาวทั้งสองของผมยินดีสละไตให้ผมหนึ่งข้าง… วันปีใหม่ปี 2550 ของขวัญปีใหม่ในปีนั้นของผมคือ ไตที่สมบูรณ์ของน้องชายผม ทุกวันนี้น้องชายผมสุขภาพแข็งแรงดี ส่วนผมก็ใช้ชีวิตอย่างมีสุข รู้ค่าทุกนาทีของการมีชีวิตอยู่ เรียนรู้ที่จะอยู่กับยากดภูมิตลอดชีวิตเพื่อไม่ให้ร่างกายปฏิเสธไตของน้องชาย ตรงไปตรงมากับตัวเอง รีบทำสิ่งที่คิด ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก ไม่ยึดติดกับสิ่งสมมติมากเกินไป ดีต่อคนรอบข้าง ดีต่อเพื่อนร่วมงาน…ผมมีความสุขดี…มาก
ทำไม่ผมถึงอยากให้คุณมองโรคในแง่ดีเหรอครับ เพราะผมอยากให้คุณมีความสุข ถ้าเลี่ยงมันไม่ได้ก็เรียนรู้ที่จะอยู่กับมันอย่างมีความสุข ข้ามผ่านมันไปได้อย่างมีสติ หันกับมามองมันอย่างคนที่แข็งแกร่ง
วิธีมองโรคในแง่ดี
• ถ้าคุณเป็นหวัดวันนี้ คุณจะไม่มีวันเป็นหวัดจากไวรัสตัวนี้อีกเลยตลอดชีวิต(ตัวอื่นไม่เกี่ยว)
• ถ้าคุณเป็นโรคแปลกใหม่ คุณจะได้ความรู้ใหม่ๆ เก็บไว้บอกเล่าสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้มันเกิดกับคนที่คุณรักหรือเพื่อนคุณได้อีก
• ถ้าท้องเสีย Read More